วันเสาร์ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2556

มาจับคู่อวัยวะภายในกันเถอะ ความสัมพันธ์ง่ายๆ ที่สังเกตุได้!!! สังเกตุโรคใกล้ตัวกับอาการปวด เบื้องต้น โดยการปรับสมดุลร้อนเย็น




วันนี้เรามาเรียนกายวิภาคกับแบบง่ายๆนะคะ เราจะสังเกตุโรคหรืออาการให้เป็น แนะนำให้ รู้จักระบบ ความสัมพันธ์ของร่างกายกันก่อนคะ 

เรามาจับคู่กันคะ 

1.ไต กระเพาะปัสสาวะ 
     ไต มีความสำคัญต่อการสืบพันธ์และการเจริญเติบโต รวมถึงการพัฒนาของสมอง กระดูกและไขกระดูก เมื่อไตมีปัญหาจะเกิดอาการดังนี้ จิตใจไม่แจ่มใส ปวดเอวและหัวเข่า เข่าไม่มีแรง บวมน้ำ ผมหงอกก่อนวัย ระบบขับถ่ายผิดปกติ ผู้หญิงไม่ตั้งครรภ์เพราะมดลูกเย็น ผู้ชายหย่อยสมรรถภาพทางเพศเป็นหมัน เกิดจากการทำงานของไตบกพร่อง เมื่อไตมีปัญหา จะส่งผลต่อระบบปัสสาวะโดยตรง ทำให้ระบบขับปัสสาวะบกพร่อง ฉี่ติขัด อาจเกิดนิ่วได้ในอนาคต

2.ตับ ถุงน้ำดี 
     ตับมีหน้าที่เก็บกักเลือด และ ปรับสมดุลปริมาณเลือด ช่วยในการย่อยอาหารของม้าม และกระเพาะอาหาร อีกทั้งยังเกี่ยวข้องกับการควบคุมอารมณ์ โดยเฉพาะ อารมณ์โกรธ เครียด และหวาดกลัว ซึ่งมีผลต่อดวงตาและประจำเดือน ตับยังสัมพันธ์ กับถุงน้ำดี อวัยวะทั้งสองส่งผลต่อกันและกัน หากความสามารถ ในการขับพิษของตับเป็นปกติ ถุงน้ำดีก็จะปกติเช่นกัน  บางคนจะพูดว่าคนขี้โมโห หรือนอนดึกจะเรียกว่าเป็นคนตับพัง การเวียนหัวหรือปวดหัวก่อนมีประจำเดือนเกี่ยวข้องกับตับโดยตรง หรือจะเป็นอาการปวดและบวมบริเวณหน้าอกและด้านข้างลำตัว ก็เกี่ยวข้องกับตับเช่นเดียวกัน 

3.ม้าม กระเพาะอาหาร
ม้ามและกระเพาะอาหารจะทำงานร่วมกัน ในการย่อยอาหาร ดูดซึมอาหาร ลำเลียง สารอาหารและน้ำ
     กระเพาะอาหาร ทำหน้าที่ย่อยและดูดซึมขั้นต้น ม้ามทำหน้าที่ลำเลียงและควบคุมการไหลเวียนเลือด ควบคุมการทำงานของแขนขาและกล้ามเนื้อ ลำเลียงน้ำส่วนเกินไปยังปอดและไต เพื่อเปลี่ยนเป็นเหงื่อและปัสสาวะ และขับออกจากร่างกาย 
     ม้าม ทำหน้าที่ ลำเลียงสารอาหารและน้ำ ที่ได้จากการย่อยและดูดซึมของกระเพาะไปใช้จึงเป็นแหล่งที่มาของเลือด และควบคุมการไหลเวียนของเลือด อาหารต้องห้าม คืออาหารแช่เย็น น้ำแข็ง ของทอด ใครที่เป็นโรคเบื่ออาหาร อาจจะเกิดจากม้ามบกพร่องนะคะ

4.หัวใจ ลำไส้เล็ก 
     หัวใจ มีหน้าที่ แปลงสารอาหารเป็นเลือดเพื่อไปเลียงส่วนต่างๆของร่างกาย และควบคุมการไหลเวียนของเลือด หากหัวใจ ทำหน้าที่สูบฉีดเลือดได้ราบรื่น เลือดก็จะไปเลี้ยงส่วนต่างๆได้เพียงพอ แถมหัวใจยังทำหน้าที่ควบคุมจิตใจ ความทรงจำของสมอง ความนึกคิดและการนอน อีกด้วย
     ลำไส้เล็ก ทำหน้าที่ย่อย อาหาร ดูดซึมอาหาร และจำกัดของเสีย หัวใจมีหน้าที่ช่วยลำไส้เล็ก แยกสารอาหารและของเสีย

5.ปอด ลำไส้ใหญ่
     ปอดมีหน้าที่ควบคุมลมปราณ ในร่างกาย หากปอดทำงานปกติ การไหลเวียนของลมปราณ และการลำเลียง สารจากปอดไปยังลำไส้ใหญ่ ก็จะไม่ติดขัด 
     ลำไส้ใหญ่ มีหน้าที่หลักในการดูดซึมน้ำ ขับถ่ายของเสีย 

ตอนนี้เรารู้การทำงานของร่างกายคร่าวๆไปแล้ว ก้อจะสังเกตุอาการของโรค ได้ไม่ยากแล้วนะคะ สังเกตุจากตำแหน่งที่ปวด หรือ อาการที่เกิด เพราะแต่ละส่วนมีความสัมพันธ์กันหมดนะคะ เช่น
ปวดหัว เพราะระบบเลือดที่ไปเลี้ยงสมองติดขัด ระบบเลือดจะลำเลียงได้ มากจากปอด ปอดจะดีขึ้นอยู่กับการขับถ่ายจากลำไส้ใหญ่

แต่ถ้ามีอาการชาตามมือเท้าแสดงว่าเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆไม่สะดวก หัวใจบกพร่อง ระบบย่อยอาหารจากลำไส้เล็กมีปัญหา จึงต้องทานอาหารให้ตรงเวลาและ ทานอย่างช้าๆ เคี้ยวให้ละเอียด 

ลิ้งค์ ข้อมูลเพิ่มเติมในการวิเคราะห์ โรค

ค่อยๆสังเกตุ ความสัมพันธ์ไปเรื่อยๆนะคะ เมื่อ สังเกตุเป็นแล้ว เรามารักษาอาการ ร้อนเย็นเบื้องต้น โดยการใช้พืชผัก กันเถอะคะ 
อาการดังต่อไปนี้คืออาการร้อนนะคะ 
-ตาแดง ตาแห้ง แสบตา ปวดตา 
-มีสิวฝ้า
-มีตุ่มแผลในช่องปาก เหงือกอักเสบ ปวดฟัน
-หอบหืดนอนกรน ริมฝีปากแห้งแตก
-ผมร่วงผมหงอกก่อนวัย 
-ไข้ขึ้น ปวดหัวตัวร้อน
-มีเส้นเลือดขอดตามส่วนต่างๆของร่างกาย
-กล้ามเนื้อตึงแข็ง เป็นตะคริวบ่อยๆ
-ท้องผูก อุจจาระแข็ง
-ปัสสาวะน้อยมีสีเข้ม
-ท้องอืดปวดท้อง
-หายใจเป็นไอร้อน มีเสมหะ
-เลือดกำเดาออก
-ง่วงนอนหลังทานอาหารอิ่มใหม่ๆ
-เล็บมือเล็บเท้าฉีกง่าย
-หน้ามืดเป็นลม วิงเวียน บ้านหมุน
-รู้สึกร้อนในร่างกาย
-เจ็บคอเสียงแหบ
-หิวมากหิวบ่อย

เพิ่มเติมภาวะร้อนเย็น

การแก้ภาวะร้อนเกิน ให้ดื่มน้ำสมุนไพรฤทธิ์เย็น หรือที่เรียกว่าน้ำคลอโรฟิลด์สด จากธรรมชาติ น้ำเขียว น้ำย่านาง
ใบย่านาง ใบเตย บัวบก หญ้าปักกิ่ง ใบอ่อมแซบ ผักบุ้ง ใบเสลดพังพอน หยวกกล้วย ว่านกาบหอยหญ้าม้า หญ้า ปราบนา นำมาปั่นกรองเอากากออก ทานก่อนอาหารหรือตอนท้องว่าง หรือทานแทนน้ำดื่ม หรือจะผสมกับน้ำ มะพร้าว หรือน้ำผึ้งมะนาวเพื่อลดพิษร้อน 

กัวซา ขูดพิษ ขูดลม ใช้อุปกรณ์เช่น เขาสัวต์ ไม้ หยก ช้อน ขูดไล่พิษจากเลือดเพื่อกระตุ้น การไหลเวียนที่ดีขึ้น
ข้อมูลเพิ่มเติม การกัวซา http://www.morkeaw.net/k-guasa.html 


การสวนล้างลำไส้ ดีทอค
ข้อมูลเพิ่มเติม http://www.morkeaw.net/k-detox.html

การแช่มือแช่เท้าสมุนไพร

การออกกำลังกายกดจุดลมปราณ โยคะกายบริหาร

การบำบัดด้วยปัสสาวะ

ลิ้งค์การปรับสมดุลเพิ่มเติม

ส่วนมากที่แนะนำบำบัดอาการร้อนเพราะคนส่วนมากที่มีอาการป่วยคือ ภาวะร้อนเกินนะคะ

แค่นี้เราก็สามารถเป็นหมอดูแลตัวเองได้แล้วคะ จากประสบการณ์ตรง ไม่ใช้ยาเม็ดมา2 ปีแล้วคะ ไม่ป่วยไม่ต้อง นอน รพ. ไม่ได้โชคดีคะที่ไม่ป่วย แต่เลือกแพทย์ทางเลือก รักษาตัวเองโดยไม่ใช้ยา คะ บำบัดด้วยวิธีข้างต้น เมื่อมีอาการป่วยเกิดขึ้น ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ทำตามนาฬิกาชีวิต ลองปฏิบัติ ดูนะคะ เพื่อร่างกายที่แข็งแรงและยั่งยืน แบบไม่ต้องใช้ยา เพราะยาจะตกค้างและเป็นพิษสะสมในร่างกาย ทำร้ายอวัยวะต่างๆในร่างกาย มีผลในระยะยาว และต่อยอดเป็นโรคร้ายแรงในอนาคตได้คะ ด้วยความปราถนาดี เราอยากเห็น ร้อยยิ้ม จากทุกคน ไม่ป่วยร่างกายแข็งแรงแบบ PK นะคะ

ที่มาของบทความ ขอขอบคุณหนังสือ
:สุขภาพดี สวยใสต้องใส่ใจที่มดลูก ผู้เขียน แพทย์หญิง จาง เจียเป้ย ผู้แปล กัญญารัตน์ จิราสวัสดิ์
:ถอดรหัสสุขภาพเล่ม 3 มาเป็นหมอดูแลตัวเองกันเถอะ  ผู้เขียน ใจเพชร กล้าจน (หมอเขียว)

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Twitter Delicious Facebook Digg Stumbleupon Favorites More

 
Design by Free WordPress Themes | Bloggerized by Lasantha - Premium Blogger Themes | ewa network review